วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส่องรอบโลกฉลอง "50 ปีสปุตนิก”

านมาแล้ว 1 วันเต็มๆ ในทุกๆ ที่ทั่วโลก สำหรับวันครบรอบ 50 ปี ของการปล่อยดาวเทียมสปุตนิก 1 ของสหภาพโซเวียตขึ้นโคจรรอบผิวโลกเมื่อวันที่ 4 ต.ค.2500 ทำให้เมื่อช่วงกว่า 1 วันที่ผ่านมามีหน่วยงานด้านอวกาศ ณ ที่ต่างๆ ทั่วโลกร่วมจัดกิจกรรมใหญ่บ้างและเล็กบ้างเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสนี้

จุดหลักของการจัดงานเฉลิมฉลองที่ใหญ่ที่สุดคงต้องยกให้ที่ประเทศรัสเซีย เจ้าของดาวเทียมสปุตนิก 1 ที่จัดงานเฉลิมฉลองขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ณ ศูนย์ฝึกอบรมนักบินอวกาศรัสเซีย ในเมืองสตาร์ซิตี ด้านนอกกรุงมอสโก โดยมีวิศวกร เจ้าหน้าที่ทหาร และอดีตนักบินอวกาศมาร่วมงานอย่างคับคั่ง

ทั้งนี้ยังมีผู้บริหารจากชาติคู่แข่งอย่างนายไมเคิล กริฟฟิน (Michael Griffin) ผอ.ใหญ่องค์การบริการการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ซึ่งหมายมั่นที่จะมีความร่วมมือในการสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคารร่วมกัน ตลอดจนนายฌอง–ฌากส์ ออร์เดน (Jean-Jacgues Dordain) ผอ.ใหญ่องค์การอวกาศยุโรป (ESA: อีซา) ขึ้นปาฐกถาในโอกาสเดียวกัน

ส่วนอีกสถานที่หนึ่งที่มีการจัดงานได้แก่ หอดูดาวแอดเลอร์ (Adler Planetarium) ในเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้จัดนิทรรศการ “ทะยานสู่ดวงจันทร์” (Shoot for the Moon)

จุดสำคัญคือการที่ ดร.เซอร์กี เอ็น. ครุสชอฟ (Sergei N. Khrushchev) บุตรชายของ “นิกิตา ครุสชอฟ” (Nikita Khrushchev) อดีตนายกรัฐมนตรีของสหภาพโซเวียต ได้เดินทางมาเยี่ยมชมนิทรรศการดังกล่าว และได้พบปะกับ ดร.พอล เอช. คเนบเพนเบอร์เกอร์ (Paul H. Knappenberger) ประธานหอดูดาวแอดเลอร์ ตลอดจนนายเจมส์ โลเวล (James Lovell) อดีตกัปตันยานอพอลโล

ขณะที่ประเทศไทยเองก็มีการจัดงานขึ้นด้วยเช่นกัน โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จัดงานสัปดาห์อวกาศโลกขึ้นระหว่างวันที่ 4 -10 ต.ค. เวลา 09.00 -16.00 น. ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) เขตจตุจักร กทม.โดยผู้มาร่วมงานจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

ไฮไลต์สำคัญคือ กิจกรรมการปล่อยจรวดขวดน้ำ 200 ลำของเด็กนักเรียนกว่า 300 คน พร้อมๆ กับอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ร่วมเฉลิมฉลองวาระสำคัญนี้ นอกจากนั้นยังได้ส่ง น.ส.สุนารี เนรมิต ตัวแทน นักเรียนหญิงไทยไปร่วมทำกิจกรรมในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง (Zero Gravity) ณ เมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 6 ต.ค.นี้ด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

free-online-preschool-games
play-free-arcade-games
christmas-party-jokes-games
free-internet-multiplayer-games
college-drinking-games
dress-up-games-for-girls
love-games
downloadable-games
free-online-strategy-games
history-of-the-olympic-games

"เอเลี่ยน" มีกี่ชนิด

มนุษย์ต่างดาวทั้งที่เป็นคำร่ำลือและมีผู้ยืนยันการพบเห็น มีหน้าตาหลากหลายต่างๆ กันไป
1. พวกสีเทา (Grey alien) – รู้จักกันดีว่าเป็นมนุษย์ต่างดาวที่รอสเวลล์ (Roswell) หลังจากมีร่องรอยยูเอฟโอตกที่บริเวณนั้น โดยเชื่อว่ารายงานการพบมนุษย์ต่างดาว 75% เกิดขึ้นในสหรัฐฯ, 20% เกิดที่ใจกลางยุโรป ส่วน 12% เกิดบนเกาะอังกฤษ และที่เหลือมาจากทั่วโลก ซึ่งพวกสีเทาเป็นชนิดที่มนุษย์คุ้นเคยที่สุด แทนพวกตัวเขียวที่เคยจินตนาการไว้ก่อนหน้านี้
2. อเลสเฮนกา (Aleshenka) - พบที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในรัสเซียเมื่อปี 2539 โดยหญิงที่จิตไม่ปกติ สิ่งมีชีวิตหน้าตาแปลกประหลาดนี้สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก

3. เลียนแบบมนุษย์ (Reptilian humanoid) - พวกนี้คล้ายกับมนุษย์ในช่วงก่อนวิวัฒนาการอย่างที่เห็นในปัจจุบัน มีพลังพิเศษ และยังคงอารายธรรมดั้งเดิมของมนุษย์ไว้ มีชื่อเรียกหลากหลายตามตำนานแต่ละทวีป แต่เราอาจคุ้นเคยในนาม “กัปปะ” (Kappa) ตามตำนานญี่ปุ่น หรือตัวเอกในภาพยนตร์เรื่องเฮลล์บอย (Hell Boy)
4. พวกหน้าเหมือนแมว (Cat-like aliens) – หรือเฟลินอยดส์ (Felinoids) ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงในนิยายวิทยาศาสตร์มากมาย แรกเริ่มพัฒนามาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างแมวกับมนุษย์
5. ดรอป้า (Dropa) – พวกนี้เหมือนคนแคระ เคยเล่าลือว่านำยานลงจอดบริเวณพรมแดนจีน-ทิเบตเมื่อราว 1 หมื่นกว่าปีก่อน กระทั่งปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าเป็นความจริง
6. ฟูรอน (Furon) – มีลักษณะคล้ายพวกสีเทา และมีความสามารถในการแข่งขันสูง พวกนี้ยังเป็นอมตะ เพราะสามารถโคลนนิงตัวเองได้เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์

นอกจากนี้ ยังมีเอเลียนจากดาวต่างๆ อาทิ พวกดาวพฤหัส เรียก โจเวียน (Jovian), ดาวอังคาร เรียก มาร์เชียน (Martian), ชาวดาวศุกร์ คือ วีนัสเซียน (Venusian)

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

yahoo-free-games
free-batman-arcade-games
free-online-card-games
undress-female-celebrities-games
games-on-the-internet-to-play
simpsons-games-to-play-online
addictive-games
online-car-driving-games
free-online-cooking-games
free-mario-game-downloads

ดาวที่เอื้อต่อ “การมีชีวิต”

นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์มากมายกว่า 200 ดวง แล้ว และมีหลายดวงที่พบร่องรอยเอื้อต่อสิ่งมีชีวิต และดาวเด่นๆ ในจำนวนนั้นก็ได้แก่
1. เบตา ซีวีเอ็น (Beta CVn: Beta Canum Venaticorum) คล้ายดวงอาทิตย์ และอยู่ห่างโลก 26 ปีแสง เป็นดาวที่สว่างเป็นอันดับสองในกลุ่มดาวสุนัขล่าเนื้อ (Canes Venatici)
2. เอชดี 10307 (HD 10307) หรือ กลีส 67 (Gliese 67) ดาวในระบบสุริยะเหมือนกับโลก อยู่ห่างออกไป 42 ปีแสง มีมวลสาร อุณหภูมิ โลหะเกือบเหมือนกับดวงอาทิตย์ และมีดาวบริวารหนึ่งดวง อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา (Andromeda)
3. เอชดี 211415 (HD 211415) หรือ กลีส 853 (Gliese 853) มีโลหะเป็นองค์ประกอบครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ เย็นกว่าดวงอาทิตย์นิดหน่อย ถูกเรียกว่าเป็นคู่แฝดของดวงอาทิตย์ อยู่ในกลุ่มดาวนกกระเรียน (Grus) และอยู่ห่างจากโลกราว 44 ปีแสง
4. 51 ปิกาซัส (Pegasus 51) ดาวเคราะห์ดวงแรกเหนือระบบสุริยะ อยู่ในกลุ่มดาวม้าปีก (Pegasus) พบเมื่อปี 2538 โดยนักดาราศาสตร์ชาวสวิส และพบวัตถุที่คล้ายกับดาวพฤหัสในบริเวณเดียวกัน
5. ศุกร์ (Venus) เพิ่งค้นพบร่องรอยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ในชั้นเมฆ และมีหลักฐานให้เชื่อว่าเคยมีสภาพอากาศที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต อีกทั้งยังมีขนาดและระยะห่างจากดวงอาทิตย์ใกล้เคียงกับโลก
6. อังคาร (Mars) มีร่องรอยของแหล่งน้ำ และก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศ รวมทั้งก๊าซอื่นๆ ที่เหมือนกับในบรรยากาศของโลก และตั้งแต่สมัยก่อนชาวโลกก็มักจินตนาการว่ามีมนุษย์ดาวอังคาร แม้บัดนี้จะยังไม่พบสักชีวิต แต่ก็เชื่อมั่นกันว่ามีสิ่งมีชีวิตแน่ๆ หรืออย่างน้อยๆ ก็เคยมี
7. พฤหัสบดี (Jupiter) ดาวเคราะห์ก๊าซขนาดใหญ่ที่อาจจะมีสิ่งมีชีวิตลอยน้ำได้ หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำ อาจเป็นพวกแพลงก์ตอนที่สามารถสังเคราะก์ด้วยแสงได้ หรือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ลักษณะคล้ายกับถุงก๊าซที่เคลื่อนที่โดยการปล่อยก๊าซ ฮีเลียมออกมานอกร่างกาย
8. เสาร์ (Saturn) สันนิษฐานคล้ายดาวพฤหัส แต่อุณหภูมิเย็นกว่า และในชั้นบรรยากาศก็เต็มไปด้วยก๊าซไฮโดรเจนมากมาย แต่ก็เชื่อกันว่าส่วนใจกลางของดาวเสาร์จะเป็นหินที่มีขนาดพอๆ กับโลกของเรา และยังอาจมีไฮโดรเจนและฮีเลียมที่อยู่ในสถานะของเหลวด้วย
9. จันทร์ไททัน (Titan) บริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีทะเลที่เต็มไปด้วยของเหลวไฮโดรคาร์บอน ก๊าซมีเทน และก๊าซไนโตรเจน ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งแวดล้อมลักษณะเดียวกับโลกก่อนที่ชีวิตแรกจะเกิดขึ้น จึงเป็นไปได้ว่าไฮโดรคาร์บอนเหล่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งกำเนิดเป็น สิ่งมีชีวิต
10. จันทร์ยูโรป้า (Europa) บริวารของดาวพฤหัสบดี มีชั้นของเหลวปกคลุมหนาถึง 10 ก.ม. และมีน้ำแข็งอยู่มากมาย แน่นอนว่าอาจจะเป็นแหล่งกำเนิดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือต้นไม้ในรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน
บริวารของดาวพฤหัสบดี ทั้งจันทร์แกนิมีด (Ganymede) ดาวบริวารดวงใหญ่ที่สุด และคาลลิสโต (Callisto) เชื่อว่าอาจมีทะเลอยู่ในชั้นดาว โดยแกนิมีดยังอาจมีลักษณะเป็นดาวพี่ดาวน้องกับโลกของเรามากกว่าดาวอังคาร หรือดาวศุกร์เสียอีก
นอกจากนี้ยังมีดวงดาวอีกมากมายที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วทั้งบนดาวหาง ดวงจันทร์ของโลก

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th





free-online-star-wars-games
free-online-game-sites
free-online-puzzle-games
funny-flash-games
3d-games
download-free-full-games-for-pc
downloadable-scooby-doo-games
online-free-games
play-sonic-games
who-invented-video-games

"เตาไมโครเวฟ" อยู่ใกล้แค่ไหนถึงโดนรังสีทำร้าย

เตาอบไมโครเวฟเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกันแทบทุกครัว เรือน เพราะความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการทำอาหารได้มาก แต่รู้หรือไม่ว่าเตาไมโครเวฟที่ไม่ได้มาตรฐานอาจแผ่รังสีที่เป็นอันตรายออก มาได้ และเราอาจรับไปโดยไม่รู้ตัว

ลองนึกภาพดูว่าเวลาที่เราใช้เตาอบไมโครเวฟ เรายืนอยู่ใกล้ตัวเครื่องมากแค่ไหน?

หลายคนคงนึกในใจ ถ้าไม่ยืนอยู่ใกล้แล้วจะให้ใช้เครื่องได้ยังไงกันหนอ ?!?

แล้วควรจะอยู่ห่างสักแค่ไหนจึงจะปลอดภัยไร้กังวล ??

แม้เตาไมโครเวฟจะมีการแผ่รังสีออกมาโดยปกติอยู่แล้ว แต่ก็ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

อย่างเช่นที่ศูนย์เครื่องมือและรังสีวิทยาเพื่อสุขภาพ (Center for Devices and Radiological Health) องค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration) สหรัฐฯ ได้กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเตาอบไมโครเวฟไว้ว่า ตลอด อายุการใช้งานของเตาอบไมโครเวฟทุกเครื่องจะมีรังสีรั่วไหลออกมาได้ไม่เกิน 5 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร หรือมีระยะห่างจากเตาอบไม่เกิน 2 นิ้ว ซึ่งปริมาณรังสีระดับนี้ยังต่ำกว่าระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์อยู่มาก และเมื่อเปรียบเทียบกับโทรศัพท์มือถือที่มีการแผ่รังสีสูงสุดถึง 1.6 วัตต์ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

อีกทั้ง ทางศูนย์ดังกล่าวยังเรียกร้องให้บริษัทผู้ผลิตเตาอบไมโครเวฟหันมาใช้วัสดุ ที่ควบคุมหรือป้องกันการรั่วไหลของรังสีที่มีประสิทธิภาพ โดยฝาเตาอบต้องมีตาข่ายโลหะป้องกันคลื่นไมโครเวฟหลุดรอดออกมา และเตาอบจะต้องไม่มีการปล่อยหรือหยุดปล่อยคลื่นไมโครเวฟทันทีที่ฝาเตาอบไม่ ได้ล็อค ซึ่งเหล่านี้จะช่วยควบคุมไม่ให้มีรังสีรั่วไหลออกมาได้ดี

อย่างไรก็ดี เตาอบไมโครเวฟที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปนั้นไม่มีอันตรายแต่อย่างใด

หากแต่เวลาเลือกซื้อก็ควรตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ให้ครบถ้วนเสียก่อนตัดสินใจซื้อ เมื่อซื้อมาแล้วก็ต้องปฏิบัติตามคู่มือการใช้อย่างเคร่งครัด และแม้รังสีที่รั่วไหลออกมาจะอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย ก็ไม่ควรยืนอยู่ใกล้เตาอบเป็นเวลานานขณะเครื่องทำงาน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุกรณีอื่นได้โดยไม่คาดคิด

ที่สำคัญไม่ควรใช้เครื่องเมื่อฝาเตาปิดไม่สนิทหรือตัวเครื่องชำรุดเสียหาย และควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการซ่อมต่อไป

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

download-free-games
drivers-ed-car-game
free-to-play-arcade-games
how-many-games-are-played-in-the-nba-playoffs
children-party-games
bbc-sport-games
play-free-batman-games
play-dress-up-games
slumber-party-games
thats-so-raven-cool-games

ตีแตกคณิตผลิตงานศิลป์ "แถบโมเบียส" โจทย์วนลูป 8 ทศวรรษ

นักวิทยาศาสตร์ตีแตกปริศนาแห่ง "แถบโมเบียส" ปรากฏการณ์ทางคณิตศาสตร์ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจแห่งศิลปะที่สร้างความพิศวง นานกว่า 8 ทศวรรษ

คุณอาจจะเคยทึ่งกับ "แถบโมเบียส" หรือเมอบิอุส (Moebius Strip) รูปทรงทางคณิตศาสตร์แสนอัศจรรย์ที่มีเพียงด้านเดียว ไม่มีด้านใน ไม่มีด้านนอก ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด

ความน่าอัศจรรย์นี้ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงานศิลปะให้กับ เอ็ม ซี เอสเชอร์ (M.C. Escher) ศิลปินชาวดัตช์ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีชื่อเสียงอย่าง "โมเบียส สตริป 2" (Moebius StripII) ภาพวาดเหล่ามดเดินวนอย่างไม่มีที่สิ้นสุดบนพื้นผิวที่น่าฉงนนี้ และมดทุกตัวก็เดินผ่านพื้นผิวทั้งหมดโดยไม่ต้องข้ามริมขอบไปยังอีกด้านหนึ่ง

ตัวอย่างที่เห็นได้ในชีวิตประจำวันคือสัญลักษณ์รีไซเคิลที่เป็นการวนอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของลูกศรสีเขียว 3 ดอกเรียกว่าเป็นวงโมเบียส (Moebius Loop) และคุณเองก็สร้างแถบนี้ขึ้นมาง่ายๆ ได้ด้วยแถบริบบิ้นหรือแถบกระดาษ โดยจับปลายด้านหนึ่งบิดไป 180 องศาแล้วทากาวติดกับปลายอีกด้านหนึ่ง

นอกจากเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์บริสุทธิ์แล้ว แถบโมเบียสยังถูกนำไปใช้กับเครื่องจักรเพื่อส่งผ่านกำลังเท่าๆ กันระหว่างรอก 2 ตัวที่ใช้ขับเคลื่อนสายพานทั้ง 2 ด้าน

ในปี 1858 ออกุสต์ เฟอร์ดินานท์ เมอบิอุส (August Ferdinand Möbius) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้ค้นพบปรากฏการ์ณทางคณิตศาสตร์นี้ และในปีเดียวกันนั้น โยฮานน์ เบเนดิกต์ ลิสติง (Johann Benedict Listing) ชาวเยอรมันอีกคนก็ได้ค้นพบปรากฏการณ์เดียวกัน

แม้จะมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานแต่ก็ไม่มีใครสามารถทำนายได้ว่าลำดับก่อนหลังของแถบอันประหลาดนี้จะเป็นอย่างไร หากเราผลิตแถบโมเบียสขึ้นมาจากวัสดุอย่างแผ่นพลาสติกใสกว้าง 3 นิ้วและยาว 20 นิ้ว เป็นต้น

ตั้งแต่ ปี 1930 แถบโมเบียสก็กลายเป็นปัญหาขั้นสุดยอดที่ยากจะแก้ตกสำหรับเหล่าผู้เชี่ยวชาญ โดยรูปร่างชวนพิศวงของแถบโมเบียสถูกแตกให้เป็นแถบรูปทรงเรขาคณิตเพื่ออธิบาย ความไม่ปกติของรูปร่างในรูปแบบของสมการ

หลังจากถูกค้นพบมาเกือบ 150 ปี ล่าสุด เกิร์ต แวน เดอร์ ไฮจ์เดน (Gert van der Heijden) และยูจีน สตาโรสติน (Eugene Starostin) 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านพลศาสตร์แบบไม่เชิงเส้น (non-linear dynamic) จากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนหรือยูซีแอล (University College London: UCL) ได้นำเสนอรายงานผ่านวารสารเนเจอร์แมททีเรียลส์ (Nature Materials) ว่าพวกเขาสามารถคำนวณหารูปร่างที่แน่นอนของวัตถุรูปร่างแปลกนี้ได้

ทั้งนี้นัก วิทยาศาสตร์จากยูซีแอลได้ใช้อัตราระหว่างความกว้างต่อความยาวร่วมกับ คุณสมบัติความยืดหยุ่นของวัสดุที่ใช้ทำแถบโมเบียสนี้คำนวณหารูปร่างที่แน่ นอน แต่ไม่เพียงแก้ปริศนาชวนฉงนของแถบที่มี "ความสวยงาม" ทางคณิตศาสตร์นี้ได้เท่านั้น พวกเขายังได้แสดงให้เห็นภาพความกว้างสูงสุดของแถบโมเบียสที่จะทำให้เกิดความ ยาวได้ ซึ่งเป็นการหยุดคำถามที่สงสัยกันมากว่า 80 ปี

"สิ่งที่กำหนดรูปร่างของแถบโมเบียสคือความต่างของพื้นที่ความหนาแน่นพลังงาน" นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ให้ความเห็น

ความหนาแน่นพลังงาน (energy density) คือพลังงานยืดหยุ่นหรือพลังงานที่เก็บอยู่ในแถบโมเบียสโดยผลลัพธ์ขึ้นอยู่ กับการพับงอ ตรงบริเวณที่แถบโมเบียสโค้งงอมากที่สุดจะมีความหนาแน่นพลังงานสูงที่สุด ในทางตรงกันข้ามตรงบริเวณที่ไม่โค้งงอและไม่มีความเค้น (stress) จากการพับงอจะมีความหนาแน่นพลังงานน้อยที่สุด

ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ถ้าความกว้างของแถบโมเบียสเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของความยาว ในส่วนของความหนาแน่นพลังงานก็เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวได้จากสมการที่นักวิทยาศาสตร์ยูซีแอลทั้ง 2 คำนวณได้ กรณีที่แถบกว้างขึ้นทำให้ความบางเพิ่มขึ้นและเกิดบริเวณที่เป็นรูปสามเหลี่ยมในกรณีที่กระดาษถูกทับ

ผลลัพธ์ของไฮจ์เดนและสตาโรสตินได้จากสมการเชิงอนุพันธ์ (differential equations) ที่สามารถแก้ปัญหาคุณสมบัติความยืดหยุ่นของวัสดุและแสดงอัตราส่วนของแผ่น วัสดุที่ใช้ทำแถบโมเบียสได้ โดยใช้หลักทั่วไปของพลังงานน้อยที่สุดซึ่งใช้อธิบายว่า ทำไมจึงโค้งงอเหล็กเส้นได้ยากกว่าเหล็กที่โค้งงออยู่แล้ว ทั้ง นี้เพราะเหล็กที่โค้งงอมีพลังงานยืดหยุ่นที่สูงกว่าเหล็กเส้น โดยหลักการเดียวกันนี้พวกเขาจึงแก้ปัญหาสมการที่จะทำนายรูปร่างของแถบโม เบียสขณะหยุดเคลื่อนไหวได้

แม้ผลงานค้นคว้านี้ดูค่อนข้างจะสร้างความกระจ่างให้เฉพาะคนในวงการคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ไฮจ์ เดนและสตาโรสตินก็เชื่อว่าผลงานของพวกเขาจะนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ โดยอาจช่วยทำนายจุดฉีกขาดในเนื้อผ้า และยังเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับวิศวกรเภสัชผู้ทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้างยา ใหม่ๆ

มากไปกว่านั้นการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ยังได้ปูทางสำหรับนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ได้วิเคราะห์คุณสมบัติทางโครงสร้างของโมเลกุลขนาดใหญ่และผลึกที่ก่อเป็นรูป ร่างในลักษณะของแถบโมเบียส ซึ่งกระบวนการดังกล่าวพัฒนาขึ้นเมื่อปี 2002 ด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

free-kids-online-games
intimate-romantic-games
mario-games-video-games
online-word-games
bratz-games-to-play-on-the-computer
elementary-math-games
flash-game
download-free-full-version-games-for-pc
lovin-of-the-game-song
gams

Hello

peyavatelara